วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทส

  ข้อมูล (Data or Raw Data) หมายถึง ข้อเท็จจริง (Fact) ที่เกิดขึ้น ถ้าเป็นคำว่าข้อมูลในทางคอมพิวเตอร์ จะหมายถึงข้อเท็จจริงที่มีการเก็บรวบรวมไว้ และมีความหมายในตัวเอง
สารสนเทศ (Information) หมายถึง การนำข้อมูลที่เก็บ
รวบรวมไว้ มาผ่านกระบวนการ (Process) เพื่อให้ได้
ผลลัพธ์ที่มีประโยชน์ต่อการตัดสินใจ
ความแตกต่างระหว่างข้อมูล (Data or Raw Data) เราอาจเปรียบเทียบได้กับวัตถุดิบซึ่งไม่ได้ผ่านกระบวนใด ๆ เช่น เราต้องการอาหารจานเด็ดสำหรับมื้อค่ำ เราต้องนำวัตถุดิบเพื่อนำมาปรุงเพื่อให้เป็นอาหารที่สามารถรับประทานได้ ซึ่งข้อมูลสำหรับคอมพิวเตอร์ก็เช่นกัน ถ้าเราจะนำข้อมูลที่ยังไม่ผ่านกระบวนการใด ๆ มาใช้ เราก็อาจไม่สามารถใช้ข้อมูลเหล่านั้นให้เกิดประโยชน์ได้เลยหรือไม่สามารถใช้ได้มากนัก ตัวอย่างข้อมูลทางธุรกิจ เช่น ชนิดของสินค้า จำนวนผู้ขาย จำนวนที่ขาย ข้อมูลเหล่านี้ถ้าไม่มีการเก็บรวบรวม เช่น จำนวน 100 200 300 ถ้ากล่าวอ้างมาเฉย ๆ เราก็จะทราบแต่เพียงว่าเป็นตัวเลข 100 200 300 แต่เราคงไม่เข้าใจว่าเราตัวเลขเหล่านั้นมีความหมายอย่างไร และก็จะไม่มีประโยชน์ต่อการนำไปใช้ แต่ถ้าเรานำข้อมูลเหล่านี้มาเก็บรวบรวมโดยกำหนดว่าข้อมูล 100 200 300 หมายถึง จำนวนสินค้าที่ขายได้และเมื่อนำมาผ่านกระบวนการ (Process) เช่นการนำข้อมูลเหล่านี้มาคำนวณยอดรวม เราก็จะได้ว่าจำนวนสินค้าที่ขายทั้งหมด คือ 600 หน่วย เราเรียกข้อมูลที่นำมาผ่านกระบวนการหรือขั้นตอนเหล่านี้ว่า สารสนเทศ (Information) ซึ่งการใช้สารสนเทศให้เกิดประโยชน์อาจมีความแตกต่างกัน เช่นการใช้สารสนเทศในระบบในธุรกิจสำหรับผู้บริหารระดับสูง คงต้องการเพียงรายงานสรุปเพื่อนำไปตัดสินใจในการวางแผนในการทำงานต่อไป เช่น ขณะนี้เหลือสินค้าอยู่เท่าไร ควรที่จะผลิตเพิ่มหรือไม่ แต่ถ้าเป็นผู้ปฏิบัติงานคงต้องการรายงานที่มีความละเอียดเพื่อตรวจเช็คความถูกต้องของงานที่ทำอยู่ เช่นผู้ขายแต่ละคน ขายสินค้าอะไรบ้าง จำนวนเท่าไร เป็นต้น สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับการใช้สารสนเทศนี้จะได้กล่าวถึงต่อไปในบทที่


เทคโนโลยี  มีความหมายมาจากคำ 2 คำคือ "Technique" ซึ่งหมายถึง วิธีการที่มีการพัฒนาและสามารถนำไปใช้ได้ และคำว่า "Logic" ซึ่งหมายถึง ความมีเหตุผลที่เป็นที่ยอมรับ รวมกันแล้ว จึงหมายถึง วิธีการปฏิบัติที่มีการจัดลำดับ อย่างมีรูปแบบ และขั้นตอน เพื่อที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพในเรื่องความเร็ว
  • (Speed) ความน่าเชื่อถือ
  • (Reliable) ความถูกต้อง
  • (Accurate) ซึ่งคุณสมบัติ
    ที่กล่าวถึงนี้มีอยู่อย่างครบถ้วนในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง
พิวเตอร์ หมายถึง อุปกรณ์ทาง อิเล็คทรอนิคที่สามารถทำการกำหนดชุดคำสั่ง (Programmable) ในการนำข้อมูลเข้ามาทำการประมวลผลให้เกิดเป็นสารสนเทศที่เกิดประโยชน์และนำสารสนเทศเหล่านั้นเก็บและนำมาใช้ต่อไปได้ โดยสารสนเทศหรือชุดคำสั่งเหล่านี้จะใช้พื้นฐานการทำงานแบบดิจิตอลที่เป็นสัญญาณของ 2 สถานะ (Binary Signals) คือ เปิดและปิด ซึ่งต่างจากสัญญาณอนาลอกที่เราพบเห็นอยู่ เช่น สัญญาณเสียง สัญญาณภาพ เป็นต้น
    องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน คือ ส่วนนำข้อมูลเข้า (Input) ส่วนประมวลผล (Process) ส่วนแสดงผล (Output) และส่วนเก็บข้อมูล (Storage)
แต่ความหมายของคำว่าเทคโนโลยีคงไม่ได้หมายถึงแต่เพียงคอมพิวเตอร์เท่านั้น เทคโนโลยีที่เราพบเห็นยังมีอีกมากมาย เช่น เทคโนโลยีด้านโทรคมนาคมและการสื่อสาร เทคโนโลยีเครือข่าย เทคโนโลยีการสำหรับการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น 
   คอมพิวเตอร์เป็นความรู้พื้นฐานสำหรับทุกคน (Computer Literacy for All)
     สำหรับคนในยุคปัจจุบัน คงหลีกเลี่ยงการที่จะรู้จักคอมพิวเตอร์ต่อไปอีกไม่ได้แล้ว เราจึงน่าที่จะรู้ถึงเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ไว้บ้าง ซึ่งก็มีเรื่องที่น่าจะคำนึงถึงอยู่ 3 เรื่อง ดังนี้
     สิ่งแรกคือ เรื่องทั่วไป เราควรทราบถึงความสำคัญของคอมพิวเตอร์ รู้ว่าคอมพิวเตอร์ทำอะไรให้เราได้บ้าง และมีการขยายตัวมากน้อยอย่างไรในสังคมของเราต่อไป เราต้องทราบว่าคอมพิวเตอร์คืออะไรและทำงานได้อย่างไร ส่วนนี้อาจต้องเรียนรู้ทางด้านเทคนิดอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ต้องกังวลจนเกินไปหากรู้สึกว่ายากมาก ทั้งนี้เพราะเราไม่ได้ต้องการที่จะเป็นผู้ชำนาญทางด้านนี้
      สุดท้าย การที่เราจะเข้าใจการทำงานของคอมพิวเตอร์ได้ ก็ด้วยการฝึกใช้โปรแกรมประยุกต์ (Application Program) ที่ตรงต่อความต้องการใช้งานของเรา เช่น เราใช้โปรแกรมประยุกต์เพื่อทำรายงาน ทำการคำนวณตัวเลข หรือแม้แต่การเล่มเกมส์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นความรู้ขั้นพื้นฐานที่ทุกคนควรมี แต่ถ้าเรายังมีความต้องการมากขึ้น เราอาจศึกษาถึงการเขียนชุดคำสั่งเพื่อให้คอมพิวเตอร์สร้างระบบงานเฉพาะของเรา เช่น การทำระบบบัญชีรับจ่ายในครอบครัว ทำสมุดโทรศัพท์ส่วนตัว การทำเช่นนี้เราเรียกว่า การเขียนโปรแกรม ซึ่งก็ถือได้ว่าเป็นอีกทางหนึ่งที่จะเข้าใจการทำงานของคอมพิวเตอร์ได้มากขึ้นด้วย
    เมื่อเราเข้าใจถึงความหมายของทั้งคำว่าเทคโนโลยีและคำว่าสารสนเทศแล้ว เราพอสรุปความหมายโดยรวมได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึงเทคโนโลยี ที่เป็นการรวมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีอื่น ๆ เช่น เทคโนโลยีด้านโทรคมนาคมและการ สื่อสาร เทคโนโลยีเครือข่าย เทคโนโลยีสำหรับการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมมาทำงานร่วมกัน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนสารสนเทศโดยผ่านทางอิเล็คทรอนิค หรือข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบดิจิตอล หรือข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์สามารถนำไปใช้งานได้





วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

แนวโน้มของเทคโนโลยีการศึกษา


แนวโน้มของเทคโนโลยีการศึกษา
            ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ของมนุษย์เป็นอย่างมากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องมาจากศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศในการขจัดข้อจำกัดของกาลเวลาและระยะทางส่งผลให้การแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลเกิดได้ในทุกเวลาและทุกสถานที่ซึ่งจากวิวัฒนาการนี้เองได้ก่อให้เกิดรูปแบบการจัดการศึกษาแบบใหม่ที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
เทคโนโลยีที่ใช้ในโครงการเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
            เทคโนโลยีที่ใช้ในโครงการนี้เป็นการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์โทรคมนาคมและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งจัดเป็นระบบการเรียนการสอนทางไกลแบบสองทาง
            เทคโนโลยีโทรประชุมทางไกล (Video Conference) ซึ่งเป็นเทคนิคใหม่ที่ใช้ในการสื่อสารระยะไกล เป็นการผสมผสานของสัญญาณภาพ สัญญาณเสียงและข้อมูลผนวกกับเทคโนโลยีของเครือข่ายและการสื่อสารเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของมนุษย์ที่สามารถโต้ตอบกันแบบ Real-time ระหว่างกลุ่ม 2 กลุ่มหรือมากกว่าซึ่งอยู่ห่างไกลกัน
            โดยสรุปแล้วระบบโทรประชุมทางไกล หมายถึง การประชุมทางไกลผ่านจอภาพ เป็นบริการที่ให้ทั้งภาพและเสียงในเวลาเดียวกัน โยผู้ใช้ทั้งต้นทางและปลายทางจะต้องติดตั้งอุปกรณ์ ซึ่งประกอบด้วย กล้องถ่ายภาพ จอภาพ อุปกรณ์แปลงสัญญาณ และชุดควบคุมการประชุมระหว่างจุดสองสุด จะต้องใช้อุปกรณ์สองชุดเชื่อมต่อกัน ส่วนการประชุมพร้อม ๆ กันนั้นจะต้องใช้อุปกรณ์ Teleconference เท่าจำนวนจุดที่ต้องการประชุมและจะต้องใช้อุปกรณ์ควบคุมหลายจุด (Multi-Point Control Unit : MCU) ช่วยการตัดภาพระหว่างจุดแต่ละจุด อุปกรณ์นี้สามารถเชื่อมสัญญาณเข้าด้วยกันได้ โดยทำหน้าที่เป็นทั้งเครื่องรับและเครื่องส่งภายในเครื่องเดียวกัน ส่งสัญญาณผ่านเคเบิ้ลใยแก้วนำแสงหรือผ่านระบบโครงข่าย ISDN
            นอกจากนี้จากการที่ได้มีโอกาสไปศึกษาดูงาน ชิน ฟันแฟร์ (Shin Fun Fair) ทำให้ได้ทราบถึงเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนยุคใหม่คือ เครือข่ายศูนย์การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม(Distance Learning via Satellite) ดำเนินงานโดย บริษัท ชิน บรอดแบรนด์ อินเตอร์เน็ต (ประเทศไทยจำกัด) นำเสนอเทคโนโลยีล่าสุดของการเรียนการสอนยุคใหม่เป็นครั้งแรกใน ประเทศไทย โดยใช้โครงการเทคโนโลยีบรอดแบรนด์ Ipstar หรือ Internet ความเร็วสูงผ่านดาวเทียม แบบ 2 ทาง (Interactive) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนทั้งภาพ เสียง และข้อมูล โดยเปิดโอกาสให้มีการโต้ตอบระหว่างผู้สอนจากศูนย์ iLearn ในกรุงเทพมหานคร และผู้เรียนที่อยู่ ณ ศูนย์ iLearn ในต่างจังหวัดเสมือนเรียนอยู่ในห้องเดียวกัน



            โดยศูนย์การเรียนการสอน I Learn ในจังหวัดต่างๆ ส่งผ่านข้อมูลผ่านทาง IPStar Gatewey แล้วผ่านไปยัง Fiber Opic แล้วส่งต่อไปยังสถานีแม่ข่ายเพื่อออกอากาศหลักสูตรการสอน และการอบรม (แหล่งที่มา www.ilearn.in.th)
            ยิ่งไปกว่านั้นหากมองในอีกแง่มุมหนึ่งของการศึกษาทางไกลนอกเหนือจากการศึกษาทางไกลผ่านทางเทคโนโลยีโทรประชุมทางไกล (Video Conference) การศึกษาทางไกลผ่านทางดาวเทียม การศึกษาทางไกลผ่านทางสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ ดังที่ได้กล่าวถึงรายละเอียดต่าง ๆ ไว้ในตอนต้นแล้ว การศึกษาทางไกลอีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นระบบการเรียนทางไกลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ที่นิยมเรียกกันว่า  E-Learning หรือ Electronic Learning ก็เป็นส่วนสำคัญและมีคุณค่ายิ่งต่อการจัดการศึกษาของไทยให้มีประสิทธิภาพ และเป็นไปอย่างทั่วถึงทุกคน ซึ่งเนื้อหาในส่วนต่อไปจะกล่าวถึงสาระที่สำคัญของ E – Learning ดังต่อไปนี้
            E-Learning หรือ Electronic Learning หมายถึง รูปแบบการเรียนการสอนแบบใหม่ ที่มี การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่ออิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ มีวัตถุประสงค์ที่เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้องค์ความรู้ (knowledge) ได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่  (Anywhere-Anytime Learning)  เพื่อให้ระบบการเรียนการสอนเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น   และเพื่อให้ผู้เรียนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของกระบวนวิชาที่เรียนนั้น ๆ 
            รูปแบบการเรียนการสอน
1. การเรียนการสอนทางไกล (Distance Education) เป็นการเรียนการสอนที่ประยุกต์เทคโนโลยีหลาย ๆ อย่าง เช่น ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การประชุมทางไกลชนิดภาพและเสียง รวมถึงเอกสารต่าง ๆ เพื่อเข้าถึงผู้เรียนที่อยู่ห่างไกล
2. แบบมหาวิทยาลัยออนไลน์ เรียกว่า Online University หรือ Virtual University เป็นระบบการเรียนการสอนที่อยู่บนเครือข่ายในรูปเว็บเพจ มีการสร้างกระดานถาม-ตอบ อิเล็กทรอนิกส์ (Web Board)
3. การเรียนการสอนผ่านทางอินเตอร์เน็ตและเว็บเพจ (Online Learning, Internet Web Base Education) เป็นการนำเสนอเนื้อหาและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอนโดยเน้นสื่อประสมหลาย ๆ อย่างเข้าด้วยกัน มีการสร้างสภาวะแวดล้อมที่ประสานงานกัน ให้ผู้เรียนและผู้สอนเข้าถึงฐานข้อมูลหลายชนิดได้ โดยผู้เรียนต้องควบคุมจังหวะการเรียนรู้ด้วยตนเองให้เป็น และเลือกเวลา สถานที่ในการเรียนรู้
            4. โครงข่ายการเรียนการสอนแบบอะซิงโครนัส (Asynchronous Learning Network : ALN) เป็นการเสียนการสอนที่ต้องการติดตามผลระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน โดยใช้การทดสอบบทเรียน เป็นตัวโต้ตอบ
            ลักษณะของการสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อหาสำหรับการเรียนการสอนผ่านE-Learning ประกอบด้วย
          E-Book การสร้างหนังสือหรือเอกสารในรูปแบบสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้ประโยชน์กับระบบการเรียนการสอนบนเครือข่าย
            Virtual Lab การสร้างห้องปฏิบัติการจำลองที่ผู้เรียนสามารถเข้ามาทำการทดลอง การทดลองอาจใช้วิธีการทาง simulation หรืออาจให้นักเรียนทดลองจริงตามคำแนะนำที่ให้
            Video และการกระจายแบบ Real/audio/video เป็นการสร้างเนื้อหาในรูปแบบวีดีโอ หรือบันทึกเป็นเสียงเพื่อเรียกผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์
            Virtual Classroom เป็นการสร้างห้องเรียนจำลองโดยใช้กระดานข่าวบนอินเตอร์เน็ตกระดานคุยหรือแม้แต่จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อประโยชน์การเรียนรู้ผ่านเครือข่าย
            Web base training การสร้างโฮมเพจหรือเว็บเพจเพื่อประโยชน์การเรียนการสอน
            E-library การสร้างห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ที่ให้บริการบนเครือข่ายได้
            ขณะนี้มีหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศที่ให้ความสนใจกับ E-Learning ทั้งที่มีการพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้ชื่อ http ://www.chulaonline.com และมหาวิทยาลัยรามคำแหง ภายใต้ชื่อโครงการ http ://www.ru.ac.th/learn โดยมีวัตถุประสงค์ในการใช้ระบบ E-Learning มาเสริมประสิทธิภาพให้กับระบบการเรียนทางไกลที่มีอยู่ในปัจจุบัน และในต่างประเทศได้มีการพัฒนา E-Learning มาพอสมควรแล้ว เช่น Australia Department of Education , Training and Youth Affairs ภายใต้ชื่อ http ://www.detya.gov.au/ เช่นกัน
           
            สรุปได้ว่าการเรียนรู้โดยผ่านเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้น เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างมากสำหรับโลกยุคปัจจุบัน และ หลักของ E-Learning ก็คือ ระบบการเรียนทางไกลผ่านอินเตอร์เน็ตที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถเผยแพร่ข้อมูลได้อย่างกว้างขวาง ดังนั้น E-Learning จึงเป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่ช่วยพัฒนาแต่ละประเทศให้สามารถเข้าสู่สังคมยุค IT ได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนี้ เพื่อการศึกษาในหลากหลายรูปแบบ E-Learning จึงถูกนำมาใช้ในการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้นเรื่อย ทั้งนี้ก็เพื่อจะเป็นการเตรียมความพร้อม ทรัพยากรมนุษย์ ให้พร้อมที่จะเข้าปรับตัวให้ทันต่อโลกยุคไร้พรมแดน และโลกในยุคต่อ ๆ ไปที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำลงชีวิตของสังคมมนุษย์ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต



แนวโน้มการศึกษาทางไกล
สำหรับข้อมูลในส่วนของแนวโน้มของการศึกษาทางไกล ก่อนที่จะกล่าวถึงแนวโน้มที่ได้จากการวิเคราะห์ และสังเคราะห์จากข้อมูลที่ผ่านมาในอดีตและในปัจจุบันแล้ว แหล่งข้อมูลที่มีความสำคัญในอ้างอิง เพื่อให้แนวโน้มที่ได้มีการคาดการณ์ไว้ล่วงหน้านั้นมีความเชื่อถือได้ ผู้ศึกษาจึงต้องกล่าวถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแนวโน้มของเทคโนโลยีการศึกษา ที่ยกมาพอสังเขปดังนี้
           
            1. แนวโน้มด้านวิทยุเพื่อการศึกษา
            โดยภาพรวมแนวโน้มเทคโนโลยีด้านการศึกษาทางไกลทางด้านวิทยุเพื่อการศึกษา จะมีสถานีวิทยุกระจายเสียง ที่ผู้เรียนสามารถสอบถามอาจารย์ผ่านทาง E-Mail ได้ สถานีวิทยุกระจายเสียงจะต่อกับระบบ Internet Radio เพื่อใช้ร่วมกันได้ทุกพื้นที่ เทปคำบรรยายสรุปจะมีบทบาทร่วมกับวิทยุการศึกษามากขึ้น ม้วนเทปที่ใช้บันทึกรายการวิทยุจะเปลี่ยนเป็นแผ่น CD สถานีวิทยุจะต่อเข้ากับเครือข่ายบริการร่วมระบบดิจิตอล (ISDN)
            วิทยุเพื่อการศึกษาจะเป็นสื่อหลักอย่างหนึ่งในการศึกษาทางไกล ของทุกหน่วยงานการศึกษา ทั้งหน่วยงานของกระทรวงศึกษาธิการ และทบวงมหาวิทยาลัยจะสนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัยด้านวิทยุการศึกษามากขึ้น มีคณะกรรมการควบคุมและประเมินผลการใช้สื่อด้านวิทยุการศึกษาตลอดจนเพิ่มงบประมาณด้านวิทยุการศึกษามากขึ้น
            2. แนวโน้มทางด้านโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
            โดยภาพรวมแนวโน้มเทคโนโลยีด้านการศึกษาทางไกลทางด้านโทรทัศน์เพื่อการศึกษาระบบโทรทัศน์จะต่อเข้ากับระบบ Internet Television และเปลี่ยนจากระบบ Analog มาเป็นระบบ Digital Television (DTV) โทรทัศน์ โทรศัพท์ และคอมพิวเตอร์ จะเชื่อมเป็นหนึ่งเดียวกันจะทำให้การเรียนการสอนไม่มีขีดจำกัดในเรื่องระยะทางและเวลา ระบบโทรทัศน์จะเข้าสู่ระบบ Internet Television สามารถจัดการเรียนการสอนในระบบ Course on Demand โดยอาศัย Cable Television Network และระบบโทรทัศน์จะใช้ Band Width ต่ำเพื่อประหยัดด้านทรัพยากรความถี่ วัสดุอุปกรณ์ด้านโทรทัศน์การศึกษาจะเป็นลักษณะสื่อประสมเป็นการใช้สื่อแบบผสมผสานนำเสนอให้ผู้เรียนรู้ได้กว้างขวางและเข้าใจง่ายโดยจัดเป็นรูปของสื่อสำเร็จรูป มีการใช้ชุดการเรียนแบบ Interactive Television มีการนำอุปกรณ์ที่ใช้ระบบ DVD (Digital Video Disk) มาใช้ร่วม เครื่องรับโทรทัศน์จะนิยมใช้จอภาพขนาด 29 นิ้วขึ้นไป และใช้ร่วมกับเครื่องเล่น Video Compact Disc และมีอุปกรณ์แปลงสัญญาณของระบบ Cable Television
            โทรทัศน์เพื่อการศึกษาจะเป็นสื่อหลักอย่างหนึ่งในการศึกษาทางไกลอย่างที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงมีนโยบายในการสนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัยทางด้านโทรทัศน์การศึกษา จัดงบประมาณเพิ่มมากขึ้น ร่วมกันหน่วยงานของเอกชนและหน่วยงานของรัฐบาลเพื่อจัดระบบโทรทัศน์การศึกษาให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น มีคณะกรรมการควบคุมและประเมินผลการใช้สื่อด้านโทรทัศน์เพื่อการศึกษาและให้มีศูนย์โทรทัศน์เพื่อการศึกษาเกิดขึ้นตามสาขาวิทยบริการต่าง ๆ
            3. แนวโน้มทางด้านการประชุมทางไกลเพื่อการศึกษา
            โดยภาพรวมแนวโน้มเทคโนโลยีด้านการศึกษาทางไกลทางด้านการประชุมทางไกลเพื่อการศึกษา วิธีการของการประชุมทางไกลจะใช้ผ่านดาวเทียมและสายโทรศัพท์ที่เป็นระบบดิจิตอล และใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวควบคุมการประชุมทางไกลจะมีบทบาทมากในการศึกษาอบรม สัมมนา และการจัดการเรียนการสอน เป็นกลุ่มย่อย เป็นกลุ่มใหญ่ หรือมวลชน ตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก ทำให้สามารถรับนักศึกษาปริญญาตรีและปริญญาโทเข้าเรียนได้โดยไม่จำกัดจำนวนรูปแบบการจัดการเรียนการสอนจะเปลี่ยนเป็นแนว Any Time / Anywhere ซึ่งในส่วนของทบวงมหาวิทยาลัย บุคลากรของมหาวิทยาลัยจะพร้อมเข้าสู่ระบบ E-University จะมีการนำระบบโทรศัพท์มือถือที่มีกล้องขนาดเล็กติดอยู่มาประยุกต์ใช้กับระบบการสอนทางไกล การขยายเครือข่ายทำได้ง่ายและประหยัด เทคโนโลยีบีบอัดสัญญาณทำให้ลดขนาดของสัญญาณสื่อสารภาพและเสียงจะมีประสิทธิภาพสูง และมีการจัดตั้งสถานีการสื่อสารทางไกลระบบ 2 ทางเพื่อการศึกษาบนเครือข่ายบริการร่วมระบบดิจิตอล (ISDN) และอินเตอร์เน็ต
           
            นอกจากนี้จะขอกล่าวเพิ่มเติมถึงในข้อมูลของรายงานการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง บทบาทและแนวทางการพัฒนาการศึกษาทางไกลของกระทรวงศึกษาธิการในประเด็นการอภิปราย รูปแบบและแนวทางการใช้สื่อทางการศึกษาทางไกลเพื่อการเรียนรู้ในอนาคตสรุปได้ใน 3 ประเด็น ดังนี้
                   1. ประเภทของสื่อ สื่อการศึกษาทางไกลเพื่อการเรียนรู้ในอนาคต ควรมีลักษณะที่เป็นสื่อประสม มีความหลากหลายรูปแบบ หลายประเภทให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายและสภาพการพัฒนาของประเทศและเทคโนโลยีทางการศึกษา ทั้งในส่วนของสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ
                        2. กลุ่มเป้าหมาย ในเรื่องของกลุ่มเป้าหมายที่ควรได้รับการบริการสื่อการศึกษาทางไกลเพื่อการเรียนรู้นั้น ควรยึดกลุ่มเป้าหมายที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 ได้แก่ นักเรียนในระบบโรงเรียน นักศึกษานอกระบบโรงเรียน และประชาชนทั่วไป
                        3. แนวทางการใช้บริการ ในการดำเนินการให้บริการสื่อการศึกษาทางไกลเพื่อการเรียนรู้ควรดำเนินการดังนี้
                        3.1 การกระตุ้นให้เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของการใช้สื่อการศึกษาทางไกลเพื่อการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ โดยการประชาสัมพันธ์ การเผยแพร่ตารางออกอากาศการสำรวจความต้องการในการใช้สื่อการศึกษาทางไกล และการประเมินผลการใช้สื่อ
                        3.2 การจัดศูนย์บริการสื่อในระดับพื้นที่ ซึ่งสามารถให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายได้ทุกเวลาและมีสื่อที่หลากหลาย จำนวนเพียงพอต่อความต้องการรับบริการของกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่
            สรุปได้ว่า การใช้สื่อการศึกษาทางไกลเพื่อการเรียนรู้นั้น สิ่งที่จำเป็นต่อการพัฒนาสื่อนั้น ผู้ผลิตสื่อจะต้องมีการติดตามประเมินผลการใช้สื่อนั้น ๆ อยู่ตลอดเวลา เพื่อจะได้นำข้อมูลมาปรับปรุงและพัฒนาสื่อให้สอดคล้องกับความต้องการและสภาพของผู้ใช้สื่อ ซึ่งสื่อการศึกษาทางไกลจะต้องมีลักษณะที่หลากหลายและสะดวกในการใช้งาน สามารถให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
            4. โยงกับ พ... เนื่องจากให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ด้วยตนเองจากสื่อต่าง ๆ เป็นการฝึกฝนให้ผู้เรียนมีวินัย และความรับผิดชอบ ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 และเป็นการดำเนินการจัดการศึกษาโดยส่วนกลางที่สอดคล้องกับมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) .. 2545 ซึ่งระบุไว้ในวรรค 2 ว่า
            ในกรณีที่เขตพื้นที่การศึกษาไม่อาจบริหารและจัดการศึกษาได้ตามวรรคหนึ่ง กระทรวงอาจจัดให้มี การศึกษาขั้นพื้นฐานดังต่อไปนี้ เพื่อเสริมสร้างการบริหารและจัดการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษาก็ได้” (4) การจัดการศึกษาทางไกลและการจัดการศึกษาที่ให้บริการในหลายเขตพื้นที่การศึกษาสถาบันการศึกษาทางไกลให้บริการการศึกษาเทียบเท่าการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาต่อเนื่องแก่ประชาชน กลุ่มเป้าหมาย ด้วยระบบวิธีการเรียนแบบทางไกลด้วยตนเอง โดยอาจต้องไปศึกษาค้นคว้าจากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ สถาบันการศึกษาทางไกลจึงได้จัดบริการสื่อหลากหลายประเภทไว้ในแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน ศูนย์การเรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองแก่นักศึกษาและประชาชนอย่างต่อเนื่อง

            แนวโน้มของรูปแบบการจัดการศึกษา จะมีลักษณะดังต่อไปนี้ (สุภาณี เส็งศรี, 2543)
            1. จัดการเรียนการสอนตามความพร้อมแบบไม่จำกัดเวลา สถานที่ โดยเน้นปริมาณแต่คำนึงถึงคุณภาพเพื่อมาตรฐานการศึกษา
            2. ปฏิรูปการเรียนรู้โดยมุ่งจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
            3. มุ่งพัฒนา จัดหา และส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในกระบวนการเรียนการสอนทางไกล เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเข้าถึงแหล่งวิทยาการอย่างอิสระ
            4. ลดข้อจำกัดทางการศึกษาโดยเฉพาะมุ่งเน้นความเท่าเทียมทางการศึกษาในทุกชุมชนและส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งลดปัญหาการขาดผู้สอนซึ่งมีความรู้ความสามารถ
            5. เน้นการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย และรับผิดชอบต่อสังคม
            6. สร้างความร่วมมือระหว่างองค์กร/สถาบันต่าง ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนวิชาการทั้งระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และนานาชาติ

            แนวโน้มการศึกษาทางไกลในด้านการบริหารและการจัดการ การศึกษาทางไกลถือได้ว่าเป็นกระบวนการศึกษาต่อเนื่องตลอดชีวิต จำเป็นต้องมีการจัดระบบการจัดการที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง รัฐควรเน้นในเรื่องการประสานงานและการระดมกำลังทั้งคนและความคิด มาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพราะในปัจจุบันการบริหารและการจัดการยังคงเน้นรูปแบบรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง ศูนย์กลางจะเป็นตัวควบคุมและสั่งการไปยังส่วนภูมิภาค ยังไม่มีการกระจายอำนาจที่ดีพอ การประสานงานต่าง ๆ ยังคงเกิดปัญหา อีกทั้งการจัดการศึกษาก็ไม่สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น ดังนั้นรัฐจึงควรมีการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นและภูมิภาค ระดมกำลังทั้งคนและความคิดเพื่อนำมาใช้ในการศึกษา มีการใช้ทรัพยากรที่ถูกต้องและเหมาะสม ซึ่งการบริหารงานแบบนี้จะทำให้ท้องถิ่นและภูมิภาคได้มีโอกาสและมีบทบาทในการกำหนดทิศทางในการบริหารและการจัดการทางการศึกษา ซึ่งการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นและภูมิภาคจะสร้างผลดีกว่าการบริหารและการจัดการแบบก่อนที่เน้นศูนย์กลางเป็นหลัก

            แนวโน้มการศึกษาทางไกลในด้านงบประมาณ ควรจะมีการเพิ่มงบประมาณในการผลิตวิจัย พัฒนาสื่อและบุคลากร การติดตามผลและการประเมินผล ควรมีการตั้งหน่วยงานขึ้นมารับผิดชอบในการจัดสรรงบประมาณ งบประมาณของการศึกษาทางไกลในอนาคตน่าจะได้รับงบประมาณมาจากภาครัฐและภาคเอกชน จึงควรมีการจัดสรรงบประมาณให้มีความเหมาะสม ถูกต้องและยุติธรรมเพื่อที่จะสามารถนำงบประมาณเหล่านั้น ไปพัฒนาการศึกษาทางไกลให้มีความเหมาะสมและให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

            แนวโน้มการศึกษาทางไกลในด้านประเภทของสื่อ
            สื่อคอมพิวเตอร์ ระบบ Internet ดาวเทียม และโทรทัศน์ น่าจะเป็นสื่อที่ใช้ในการศึกษาทางไกลมากที่สุด ซึ่งสื่อเหล่านี้จะเข้ามามีบทบาทแทนที่สื่อเก่า ๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุกระจายเสียง เป็นต้น
            ในปัจจุบันเทคโนโลยีได้มีความเจริญก้าวหน้าและพัฒนาไปมาก สื่อในการศึกษาทางไกลจึงมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคตามสมัย ซึ่งสื่อประเภทคอมพิวเตอร์และระบบ Imternet ระบบดาวเทียมและโทรทัศน์ ถือได้ว่าเป็นสื่อการเรียนการสอนสมัยใหม่ เป็นสื่อประสม ซึ่งทำให้ผู้สอนกับผู้เรียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กันได้ มีการโต้ตอบกันได้ และมีผลย้อนกลับ (Feed Back) ผู้เรียนเกิดความสนใจและอยากที่จะเรียนรู้ตลอดเวลา อีกทั้งในระหว่างการเรียนการสอน ผู้เรียนถ้าเกิดไม่เข้าใจหรือสงสัยเกี่ยวกับเนื้อหาของวิชา ก็สามารถที่จะสอบถามกับผู้สอนได้ทันที แต่สื่อในลักษณะนี้ยังมีราคาที่ค่อนข้างสูง และยังมีไม่แพร่หลายมากนัก ดังนั้น สื่อการศึกษาทางไกลควรจะเน้นให้มีการสื่อสารในลักษณะที่เป็นผลย้อนกลับ ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน เพราะความแตกต่างของระดับการเรียนรู้ของผู้เรียนจะเห็นได้ว่า คนเราสามารถจำในสิ่งที่ตนอ่านได้เพียงร้อยละ 10 จำในสิ่งที่ได้ยินร้อยละ 20 จำในสิ่งที่ได้เห็นร้อยละ 30 จำในสิ่งที่ได้ยินและได้เห็นร้อยละ 50 จำในสิ่งที่พูดร้อยละ 70 จำในสิ่งที่พูดและปฏิบัติร้อยละ 90 (Raudsepp 1979 อ้างถึงใน น้ำทิพย์ สุนทรนันทา 2534) ซึ่งแสดงว่า สื่อที่ใช้ในกระบวนการเรียนการสอนถ้าเป็นสื่อที่ให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติได้ ยิ่งปฏิบัติได้มากเท่าใดก็จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากยิ่งขึ้นเท่านั้น ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่า สื่อการสอนแบบเก่าที่เป็นแบบสื่อทางเดียว จะทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพต่ำ และสื่อสมัยใหม่ที่เป็นลักษณะสองทางจะทำให้ผู้เรียนเกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้มากกว่า
            แนวโน้มการศึกษาทางไกลในด้านบุคลากร ในการศึกษาทางไกล จำเป็นต้องมีบุคคลกลุ่มต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการศึกษาทางไกล ซึ่งได้แก่
           


แนวโน้มของมหาวิทยาลัยเสมือนจริง
            การเปลี่ยนแปลงในการใช้เทคโนโลยีโดยการศึกษาเป็นสิ่งที่ทำนายได้ยากในอนาคต อย่างไรก็ตามอีก 5 ปีข้างหน้า จะเห็นได้ว่ามีการเพิ่มขึ้นของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นอินเตอร์เน็ต หรือ www (World Wide Web) การสอนแบบบรรยายจะลดบทบาทลง และการเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์โดยใช้คอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายจะเป็นเรื่องปกติในการเรียนการสอน และการขยายตัวของธุรกิจจะช่วยให้การจัดการเรียนการสอนประสบความสำเร็จมากขึ้น อย่างไรก็ตามการลงทุนด้านการเงินของบริษัทธุรกิจอาจทำให้เกิดการแสวงหาผลประโยชน์และอาจจะมีผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของธุรกิจนั้นได้ ในส่วนของผู้เรียนจะมีประชากรของผู้เรียนเพิ่มมากขึ้น และแต่ละคนจะมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้ทั้งในที่ทำงานและที่บ้านได้ สิ่งที่จะช่วยผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง (Continuing education) นั่นก็คือการศึกษาผ่านเทคโนโลยีชั้นสูงนั่นเอง (High technology)
            สำหรับแนวโน้มของการศึกษาระดับอุดมศึกษา (Higher education) ในอีก 30 ปีข้างหน้า Peter Drucker ผู้เชี่ยวชาญด้านให้คำปรึกษาการจัดการและนักเขียน ได้กล่าวว่า (Lenzner and Johnson, 1997 อ้างถึงใน Roy Rada, 2001)
            Thirty year from now the big university campuses will be relics…It’s as large a change as when we first got the printed book. Do you realize that the cost of higher education has risen as fast as the cost of health care?…Such totally uncontrollable expenditures. Without any visible improvement in either the content or the quality of education, means that the system is rapidly becoming untenable.
            ในบทที่ 10 “Around the corner” ในหนังสือ The Virtual University : The Internet and Resource Based Learning ซึ่ง Steve Ryan และคณะ (2000) ได้กล่าวถึง อนาคตของการศึกษา ว่าการพัฒนาเทคโนโลยีอนาคตจะมองถึง
-          the creation of seamless systems;
-          intelligent agents;
-          electronic publishing;
-          universal systems for “managing knowledge”;
-          Virtual reality amd virtual presencing.
ซึ่งใน The creation of seamless systems ได้กล่าวถึง Databases to do with curricula may be accessed by
-          นักเรียนปรารถนาที่จะรู้เกี่ยวกับรายวิชาและการเข้าถึงแหล่งข้อมูล
-          บุคลากรทางการศึกษาต้องการที่จะพัฒนารายวิชา


            - บุคลากรที่มีส่วนในการรับผิดชอบในเรื่องการจัดหลักสูตร การตรวจสอบคุณภาพ การจัดตารางเวลา และการจัดแหล่งข้อมูล
-          ผู้มาเยือนมหาวิทยาลัยต้องการจะรู้ถึงสิ่งที่จะได้รับ
-          บุคลากรในการจัดการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความรู้ หรือวิชาเฉพาะด้าน
-          สถาบันอื่น ๆ เข้ามามีส่วนในการทำโครงการร่วมกัน
Intelligent agent จะมีส่วนช่วยในการค้นหาและกลั่นกรองแหล่งข้อมูล ข่าวสารรวมทั้งการสรุปความและแปลความ โดยพัฒนาการเรียนการสอนให้เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Individualized) และสนับสนุนการพัฒนาการสอนและรายวิชาต่าง ๆ
Electronic publishing ทำให้การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทางเว็บจะเป็นเรื่องปกติ ข้อมูลจะถูกพิมพ์ออกมาได้ตามความต้องการ ซึ่งในอนาคตอาจเป็นยุคของ “paperless paper” โดยมีการใช้แผ่นพลาสติกบางที่สามารถปรากฏข้อมูลได้ มีการจัดเก็บโดยใช้ Digital Storage, e-paper จะถูกพัฒนาโดยบริษัท Xerox (http://wwwparc.xerox.com/epaper) จะเกิดการสื่อสารแบบไร้สายมากขึ้น มีการนำระบบ Digital เข้ามาใช้ในระบบโทรคมนาคม
Universal systems for “managing knowledge” ระบบข้อมูลและเครื่องมือจะถูกพัฒนาขึ้นมาอย่างหลากหลายโดย Intelligent agent เพื่อให้ความรู้ในเรื่องโลกธุรกิจ ความรู้ในเรื่องการจัดการการพัฒนาระบบเพื่อให้มีข้อมูลที่มากมาย แก่นของความรู้จะทำให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ด้วยตนเองและการมีส่วนร่วมในทางที่จะก่อให้เกิดประสิทธิผลมากที่สุด ผู้คนและองค์กรจะเกิดความต้องการในการสื่อสาร การร่วมมือกัน และการค้ากับผู้อื่นในสภาวะแวดล้อมที่เปิดกว้าง
Virtual reality and virtual presencing การใช้ภาพ 3 มิติในการนำเสนอ ความเป็นไปได้กับเทคโนโลยีอื่น ๆ เช่น การใช้เลเซอร์ยิงให้เกิดภาพ 3 มิติ (laser holographic projections) ซึ่งได้มีการศึกษาและพัฒนาคล้ายกันนี้ที่ MIT’s Media Lab (http://www.medialmit.edu/).
นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2543) ได้แนวโน้มของการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยเสมือนจริง จะมีการนำเอาเทคโนโลยี สารสนเทศใหม่ ๆ เข้ามาใช้มากขึ้น โดยมีจุดประสงค์เพื่อลดภาระงานและขั้นตอนที่ซับซ้อนของการนำเสนอเนื้อหากระบวนวิชาออนไลน์ การจัดการและบริหารกระบวนวิชาออนไลน์ และสนับสนุนระบบที่ผู้เรียนสามารถควบคุมจังหวะการเรียนของตนเองได้ ซึ่งทิศทางแนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในระบบการเรียนการสอนในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้ มีดังนี้
1. การใช้เทคโนโลยีเครือข่ายชนิดแบนด์วิธสูง เป็นการประโยชน์จากความสามารถในการส่งข้อมูลผ่าน
เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ความเร็วสูง ช่วยให้สามารถนำเสนอข้อมูลชนิดหลายสื่อที่โต้ตอบกันได้ ระหว่างผู้เรียนผู้สอน ณ เวลาจริง และส่งผ่านข้อมูลได้ทีละมาก ๆ เช่น การถ่ายทอดการบรรยายในระบบวิดีทัศน์ที่โต้ตอบกันได้ ณ เวลาจริง (Interactive Video) พร้อมการนำเสนอภาพกราฟิกหรือสื่อการสอนชนิดอื่นได้ และผู้เรียนสามารถถามคำถามหรือสนทนากับผู้สอนได้ ผ่านทางระบบเสียง หรือ ตัวอักษรได้พร้อมกับการบรรยาย
2.
2. การจักการองค์ความรู้ในรูปแบบของโมดูล เป็นการจัดการองค์ความรู้ต่าง ๆ โดยใช้แนวความคิดที่ว่าองค์ความรู้ต่าง ๆ สามารถถูกจัดเก็บไว้ในรูปแบบของระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ และสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ทันที
3. ระบบการจัดการกระบวนวิชาอันชาญฉลาด เป็นการนำเอาแนวคิดของการใช้ผู้ช่วยเหลืออันชาญฉลาด (Intelligent Agents /System) ซึ่งเป็นแนวความคิดที่แตกแขนงออกมาจากกลุ่มแนวความคิดด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) เพื่อเป็นคล้ายกับผู้ช่วยเหลือทั้งผู้เรียนและผู้สอน เช่น เป็นผู้ช่วยเหลืออัตโนมัติ (Automated Tutoring Tracking System) เป็นผู้ช่วยสอนในการเก็บข้อมูลความคืบหน้า
ของผู้เรียนแต่ละบุคคลโดยอัตโนมัติ (Automated Student Tracking System) หรือเป็นระบบที่สามารถปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในการเรียนให้เข้ากับความต้องการเรียนของแต่ละบุคคลโดยอัตโนมัติ (Customization)
            สำหรับแนวโน้มของการเรียนการสอนแบบมหาวิทยาลัยเสมือนจริงในประเทศไทยนั้น ได้มีการจัดประชุมระดมสมองเรื่อง “Virtual Education Workshop” จัดโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ร่วมกันสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ซึ่งผลจากการประชุมพบว่า ประเทศไทยจะมีการจัดสมาคม (Consortium) ด้านการศึกษาแบบเสมือนขึ้น เนื่องจากแต่ละองค์กรหรือสถาบันเองต่างก็มีข้อจำกัดในด้านต่าง ๆ กัน ซึ่งหากมีสมาคมทางด้านนี้โดยตรง จะทำให้เกิดความร่วมมือและแบ่งปันทรัพยากรและความรู้ซึ่งแต่ละองค์กรมีอยู่ไม่เหมือนกันมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
            จากการศึกษาค้นคว้าแนวโน้มของ Virtual University ดังปรากฏข้างต้น สรุปได้ว่า
            แนวโน้มของ Virtual University นั้นเป็นสิ่งที่ยากที่จะทำนายได้ว่าในอนาคตนั้นจะเป็นไปอย่างไรแต่สิ่งที่น่าจะคาดเดาได้นั่นคือ จะมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้ในวงการการศึกษามากขึ้นและมีความหลากหลาย โดยเฉพาะในระดับอุดมศึกษา ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาทางด้านเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์การสื่อสารและโทรคมนาคม องค์กร เพื่อให้ผู้เรียนซึ่งไม่จำกัดเพศ อายุ การศึกษา ได้มีโอกาสในการเข้ารับการศึกษาอย่างต่อเนื่อง และตลอดชีวิต และสามารถกำหนดเวลาเรียน วิชาที่ต้องการเรียนได้ตามความต้องการของตน โดยไม่จำกัดสถานที่ เพื่อพัฒนาตนเองให้มีทักษะ และความรู้ในการทำงาน หรือแม้แต่ผู้ที่ทำงานแล้วก็จะสามารถเรียนรู้ได้ผ่านองค์กร บริษัทของตน ที่มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและต้องการพัฒนาบุคลากรในองค์กร บริษัท ให้มีความรู้ความสามารถในการทำงาน โดยการเรียนรู้ผ่านเว็บของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในด้านการศึกษาได้พัฒนาความรู้ ความสามารถของตนเอง สามารถบริหารและจัดการเรียนการสอน การให้บริการและคำปรึกษา และช่วยเหลือผู้เรียนที่ประสบปัญหาได้อย่างรวดเร็ว
            นอกจากนี้ ข้อกำหนดในกฎหมายพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งจะมีผลถึงแนวโน้มความต้องการ ศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา ได้กำหนดให้รัฐต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิ และมีความเสมอภาคกันใน การรับการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี และการศึกษาขั้นพื้นฐานศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 12 ปี จะมีผลทำให้ความต้องการศึกษาเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ต้องมีการพิจารณาถึงรูปแบบ และแนวทางในการตอบสนองที่เพิ่มขึ้น


แนวโน้มการใช้งาน Web-Based Instruction
            ในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ได้ให้ความสำคัญในเรื่องของการนำระบบอินเทอร์เน็ตมาใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอน เช่น การนำมาใช้ในการเรียนทางไกล การใช้เป็นการเรียนเสริมหรือการศึกษาเพิ่มเติม ซึ่งจากกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศระยะ พ.. 2544-2553 ประเทศไทย ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านการศึกษา (E-education) ได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยี โดยมุ่งแน้นการสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรศึกษาที่มีประสิทธิภาพเอื้อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสได้เข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสารสนเทศ เนื้อหา และความรู้ สถาบันการศึกษาจึงต้องจัดโอกาสและสภาพแวดล้อมให้ผู้เรียนได้พัฒนาไปตามแนวทางตามความถนัดของตน ส่งเสริมสมรรถภาพให้ผู้เรียนมีความรู้ความคิดและทักษะใหม่เพิ่มมากขึ้นจัดการเรียนการสอนให้หลากหลายรูปแบบเพื่อตอบสนองวิธีเรียนของผู้เรียนที่แตกต่าง
            ดังนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) จึงเป็นเครื่องมือที่มีพลานุภาพสูงในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการศึกษา และส่งเสริมการเรียนรู้ ทั้งในระบบ นอกระบบ และการเรียนรู้ตามอัธยาศัย โดยการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยการเรียนการสอนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันแหล่งความรู้ถูกจำกัด ทั้งที่แหล่งความรู้มีมากมาย การจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันถูกจำกัดเฉพาะในห้องเรียนและอยู่ภายใต้การควบคุมกำกับของผู้สอนเท่านั้น ทั้งที่ผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างระหว่างบุคคลมีความรู้ความเข้าใจประสบการณ์และการมองโลกแตกต่างกันออกไป รวมถึงรูปแบบการจัดชั้นเรียนในปัจจุบันไม่สามารถที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนเป็นรายบุคคลได้ ดังนั้นการเตรียมคนเพื่อให้เข้าไปรองรับกับระบบงานใหม่ในอนาคต เทคโนโลยีจึงเป็นพื้นฐานสำคัญ การเรียนการสอนไม่ควรยึดติดกับวิธีเดิม ในขณะที่สิ่งใหม่หรือสิ่งที่กำลังพัฒนาเป็นไปอย่างรวดเร็ว แหล่งความรู้ไม่ได้อยู่ที่สถานศึกษาอย่างเดียว
            การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web Based Instruction-WBI) จึงตอบสนองการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยเป็นการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนการสอนที่ประยุกต์คุณลักษณะของอินเทอร์เน็ต โดยนำทรัพยากรที่มีอยู่ในเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) มาเป็นสื่อกลางเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ในรูแปบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิง เอกสารประกอบการเรียนบทเรียนสำเร็จรูป หรือแม้กระทั่งหลักสูตรวิชา เนื่องจาก เวิลด์ไวด์เว็บเป็นบริการบนอินเทอร์เน็ตที่มีแหล่งข้อมูลอยู่มากมายและหลายรูปแบบ ทั้งตัวอักษร ภาพนิ่ง การเคลื่อนไหวหรือเสียง โดยอาศัยคุณลักษณะของการเชื่อมโยงหลายมิติ (Hyperlink) ทั้งในรูปแบบของข้อความหลายมิติ (Hypertext) หรือสื่อหลายมิติ (Hypermedia) เพื่อเชื่อมโยงแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องไว้ด้วยกัน และเป็นการนำประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการค้นคว้าข้อมูลในการเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นการสนองตอบแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นหลัก นั่นคือมิใช่การสอนที่เป็นการถ่ายทอดความรู้จากครูผู้สอนเพียงฝ่ายเดียว แต่เป็นการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลายและเกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ โดยใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศต่าง ๆ ให้เป็นประโยชน์ ซึ่งสื่อต่าง ๆ เหล่านี้สามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนสามารถเรียนรุ้และแก้ปัญหาได้อย่างอิสระ เพราะข้อมูลบนเว็บมีลักษณะเป็นพลวัตร (Dynamic) ทำให้เนื้อหาการเรียนมีความยืดหยุ่นมากกว่าแบบเดิม และเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการของผู้เรียนเป็นสำคัญและเปิดโอกาสให้ผู้สอนสามารถปรับปรุงเนื้อหาหลักสูตรให้ทันสมัยได้อย่างสะดวกสบาย








แนวโน้มของการฝึกอบรมผ่านเว็บ (Web-Based Training)

            อินเทอร์เน็ตกับการฝึกอบรมเป็นความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลงที่มีบทบาทอย่างยิ่งต่อรูปแบบการเรียนรู้ในสังคมยุคใหม่ ซึ่งเป็นยุคที่เป็นโลกของดิจิตอลที่เต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสาร ทุกหน่วยงานต้องการคนที่มีความรู้ ความสามารถ ที่สามารถปรับเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารที่ได้รับให้เป็นความรู้ที่เอื้อประโยชน์ต่อหน่วยงานและสังคมได้ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ย่อมมีผลอย่างยิ่งต่อการจัดการศึกษาที่จะต้องผลิตบุคคลให้มีการใฝ่รู้ ใฝ่เรียน และสามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องอยู่ตลอด เวลาเพื่อให้อยู่ในสังคมโลกได้อย่างมีความสุข ปรับตัวได้ทันต่อสภาวการณ์รอบตัวได้ รวมทั้งสามารถพัฒนาหน่วยงาน และสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งในปัจจุบันได้มีการจัดการฝึกอบรมในรูปแบบต่าง ๆ มากขึ้นโดยเฉพาะในเรื่องของการฝึกอบรมผ่านเว็บ ซึ่งแนวโน้มจะมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
            การฝึกอบรมผ่านเว็บ เป็นการฝึกอบรมกิจกรรม องค์ความรู้ และวิชาการต่าง ๆ ตามจุดมุ่งหมายของการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนผ่านทางเวิล์ดไวด์เว็บ ซึ่งผู้เรียนเป็นผู้กำหนด และเลือกการเรียนด้วยตนเองโดยมีวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ชี้แนะ ให้คำปรึกษา สนับสนุน อำนวยความสะดวก ทางด้านแหล่งข้อมูล วิธีการศึกษา และประเด็นในการเรียนรู้ ด้วยการใช้องค์ประกอบและคุณลักษณะและทรัพยากรบนเว็บมาช่วยในการเรียนรู้


แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
1. ทฤษฎีจุดประสงค์นิยม (Objectivist) โดยทฤษฎีแนววัตถุประสงค์ มีปรัชญา การได้รับข้อมูลจากภายนอก เกิดความสามารถตามวัตถุประสงค์ และเป็นผลมาจากการสื่อสารการเรียนรู้จากผู้สอนสู่ผู้เรียน การออกแบบควรเน้นที่การจัดการเนื้อหาโดยผู้เรียนและผู้สอนร่วมกัน เป็นการจัดโอกาสให้กับผู้เรียนในการสังเคราะห์ จัดการและจัดสร้างข้อมูลใหม่ให้เหมือนกับการสร้างสรรค์ และสร้างแหล่งข้อมูลของผู้เรียนขึ้นเอง
            2. ทฤษฎีวิศนุกรรมนิยม (Constructivist) เน้นแนวคิดเชิงสร้างสรรค์ ให้ผู้เรียนเป็นผู้เริ่มการเรียนรู้ด้วยตนเอง และแต่ละคนเรียนรู้จากความรู้และประสบการณ์ที่มีอยู่ มุ่งเน้นกิจกรรมที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียน ที่จะต้องประกอบไปด้วยโครงสร้างและการจัดการการออกแบบโปรแกรมการเรียนที่เหมาะสม การมีส่วนร่วมของผู้เรียนหรือผู้ปฏิบัติที่มีต่อผู้สอนโดยออกแบบให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม
            3. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning) การเรียนแบบร่วมมือ เกิดจากแรงผลักดันสองประการคือ ชีวิตภายนอกห้องเรียน จำเป็นต้องมีกิจกรรมที่ร่วมมือกัน โดยการใช้ทีมงานในการทำงานในชีวิตประจำวัน อีกประการหนึ่งคือ การรู้คุณค่าของปฏิสัมพันธ์ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมายขึ้น โดยที่การเรียนแบบร่วมมือ เน้นการเรียนเป็นกลุ่มเล็ก 4-6 คน สมาชิกในกลุ่มมีความสามารถคละกัน มีองค์ประกอบสำคัญ 5 ประการ ได้แก่
               3.1 ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ในทางบวก (Positive Interdependent) หมายถึง สมาชิกทุกคนทำงานอย่างมีเป้าหมายร่วมกัน มีส่วนร่วมในการทำงานโดยมีบทบาทต่าง ๆ กัน ในการ
ทำงาน สมาชิกในกลุ่มจะมีความรู้สึกว่าตนจะประสบผลสำเร็จได้ ก็ต่อเมื่อสมาชิกทุกคนในกลุ่มประสบความสำเร็จด้วย จึงเน้นความสำเร็จร่วมกัน
               3.2 การปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด (Face to Face Interaction) หมายถึง สมาชิกต้องให้ความสนใจพร้อมที่รับฟัง และเสนอความคิดเห็นต่อกลุ่ม
               3.3 ความรับผิดชอบของสมาชิกแต่ละบุคคล (Individual Accountability) หมายถึงสมาชิกทุกคนในกลุ่มมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการค้นคว้าทำงาน ต้องเรียนรู้ในสิ่งที่เรียนเหมือนกัน
               3.4 การใช้ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และทักษะการทำงานกลุ่ม (Interpersonal and Small Group Skills) หมายถึง สมาชิกทุกคนต้องได้รับการฝึกทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่ม เพื่อให้การทำงานของกลุ่มประสบความสำเร็จ
               3.5 กระบวนการทำงานของกลุ่ม (Group Processes) หมายถึง มีลำดับขั้นตอนในการทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกลุ่มที่วางไว้

            บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์ (2540) ได้กล่าวถึงการฝึกอบรมผ่านเว็บมีการนำเอาทฤษฎีวิศนุกรรมนิยม (Constructivism) เป็นทฤษฎีที่ถูกนำมาใช้ในเวิล์ด ไวด์ เว็บ มากในปัจจุบัน โดยการเน้นจุดหลัก 2 ประการ คือ
            1. มีเครื่องมือที่ดีในการสร้างความรู้ (good learning material) คือ มีเครื่องมือที่เด็กสามารถมีการแสวงหาความรู้ได้ เป็นลักษณะของการเรียนแบบตัวต่อตัว (Interactive teaching) ซึ่งแต่ละคนจะมีความสนใจไม่เหมือนกัน มีความถนัด และความเชี่ยวชาญไม่เหมือนกัน เช่น โปรแกรมเลโก้ (Lego Logo) โปรแกรมภาษาจาวา (Java) ในการเขียนข่าว (Electronic Newspaper) โปรแกรมไมโครเวิลด์ (Micro world) ในการสร้างความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้น จะเป็นเครื่องมือในการรับรู้และเกิดการคิด (Powerful Learning) เกิดการเรียนรู้ (Learning how to learn)
            2. มีบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่ดีในการเรียนรู้ที่ดี (good learning environment) ผู้เรียนต้องมีทางเลือกหลาย ๆ ทาง มีการเรียนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน มีความเป็นกันเองในห้องเรียน และถ้าห้องเรียนมีความหลากหลายมากขึ้น ผู้เรียนก็จะมีความเก่งขึ้น มีการแบ่งปันประสบการณ์กัน


แนวโน้มของการฝึกอบรมผ่านเว็บ (Web-Based Training)
            แนวโน้มของการศึกษาในศตวรรษใหม่ ที่กำลังได้รับการกล่าวถึงในแทบทุกการประชุมระดับนานาชาติ คือการจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือรู้จักกันในนามการศึกษาข้ามชาติ (Transnational Education) สำหรับประเทศไทยก็ได้มีการเคลื่อนไหวที่สอดคล้องกับแนวโน้มดังกล่าว โดยทบวงมหาวิทยาลัยภายใต้นโยบายสารสนเทศได้ดำเนินการวางโครงสร้างพื้นฐานทางการสื่อสารโทรคมนาคมซึ่งเกื้อหนุนต่อระบบการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เครือข่ายระยะไกล (Wide AreaNetwork) และสนับสนุนการจัดตั้งระบบคอมพิวเตอร์เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network) ให้กับสถาบันการศึกษามหาวิทยาลัย และโรงเรียนทั่วประเทศ การเตรียมการโครงสร้างพื้นฐานทางโทรคมนาคมดังกล่าวเป็นเพียงการสร้างช่องทางการสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์เครือข่ายให้มีโอกาสเป็นจริงขึ้นได้ หากแต่ประโยชน์ทางการศึกษาจากเครือข่ายจะเกิดขึ้นอย่างสูงสุดหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการใช้ที่จะต้องเป็นไปในลักษณะก้าวหน้า กล่าวคือเครือข่ายควรจะต้องมีสถานะเป็นช่องทางการสื่อสาร (Channel of Communication) เพื่อการศึกษาที่ผู้ใช้ไม่เพียงแต่เป็นผู้รับ แต่จะต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการสร้างและสนับสนุนการเรียนรู้ให้กับผู้อื่นด้วย นอกจากนั้นจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) .. 2545 ได้ระบุไว้อย่างชัดเจน ทั้งในหมวดที่ 4 และในหมวดที่ 9 โดยในหมวดที่ 4 ได้ระบุไว้ในเรื่องของแนวการจัดการศึกษา ซึ่งในมาตรา 22 ได้กล่าวไว้ว่าการจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ ซึ่งตรงจุดนี้เองที่การเรียนการสอนโดยเฉพาะการอบรมผ่านเว็บจะนำมาใช้ตอบสนองต่อเจตนารมณ์ในข้อนี้ได้อย่างดีที่สุด นอกจากนั้นในมาตรา 23 เรื่องการจัดการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยนั้น เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตผ่านระบบเวิล์ด ไวด็ เว็บ สามารถนำมาใช้ได้อย่างเป็นกระบวนการและนำมาบูรณาการได้เป็นอย่างดีและน่าจะมีประสิทธิภาพสูงอีกด้วย ถัดไปในมาตรา 24 วงเล็บหก (6) ซึ่งกล่าวว่าต้องจัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ ดังนั้นจะมองได้ในแง่ที่เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตจะตอบคำถามข้อนี้ได้อย่างตรงประเด็น เมื่อไล่เรียงตามลำดับมาจนถึงมาตรา 66 จากหมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ซึ่งกล่าวถึงสิทธิของผู้เรียนที่จะได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาสแรกที่ทำได้ และเพื่อให้เกิดการศึกษาและการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยสรุปแล้วอินเทอร์เน็ตสามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ในการนี้ได้อย่างดี และมีประสิทธิภาพอีกด้วย
            แนวโน้มของการฝึกอบรมผ่านเว็บ จะมีการรวมเอาเทคโนโลยีหลาย ๆ อย่างและทรัพยากรเข้าไว้ด้วยกัน โดยแนวทางพื้นฐานในการให้ข้อมูลและการวิจัยแก่ผู้เรียนและครูที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุก ๆ สาขาวิชา ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนผ่านการปฏิสัมพันธ์แบบร่วมมือกับที่ปรึกษา และคนที่มีตำแหน่งเท่ากัน รวมทั้งให้แนวทางแก่องค์กรในการพัฒนา จัดการกับข้อมูลและโมดูลการฝึกอบรมที่เหมาะสมอย่างรวดเร็ว โดยแนวโน้มของการฝึกอบรมผ่านเว็บจะออกมาในรูปแบบดังต่อไปนี้
            1. มีการปรับเปลี่ยนจากทฤษฎีแนวจุดประสงค์นิยม (Objectivism) มาเป็นทฤษฎีแนววิศนุกรรมนิยม (Constructivism) โดยที่ทฤษฎีแนวจุดประสงค์นิยม (Objectivist) มีปรัชญาการได้รับข้อมูลจากภายนอก มีความเป็นอิสระ เกิดความสามารถตามวัตถุประสงค์ และเป็นผลมาจากการสื่อสารการเรียนรู้จากผู้สอนสู่ผู้เรียน โดยเน้นการประเมินและการมอบหมายงานตามวัตถุประสงค์ การใช้หนังสือและสื่อที่เลือกไว้ก่อนแล้ว และใช้ผู้สอนในการเตรียมสื่อและหลักสูตร และการใช้ระบบเกรดสำหรับการ